ค้นหาบล็อกนี้

วันอังคารที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2557

สิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสรัคติวิสต์

เรียบเรียงโดย อนุชา โสมาบุตร

สิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสรัคติวิสต์ หรือ Constructivist Learning Environments  (CLEs)  วิจัยและพัฒนาโดย Jonassen, D. (1999) ซึ่งเป็นโมเดลการจัดการเรียนรู้หรือการจัดสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาและการพัฒนากรอบแนวคิดของผู้เรียน โดยการจัดสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้แบบ CLEs มีแนวคิดดังนี้

  • การเรียนรู้จะถูกกระตุ้นโดยความซับซ้อนของการนิยามและความซับซ้อนของโครงสร้างปัญหา (หรือ คำถาม กรณีศึกษา หรือโครงงาน) 
  • ผู้เรียนเป็นเจ้าของ (owned) ปัญหาหรือเป้าหมายของการเรียนรู้
  • การจัดการเรียนการสอนจะประกอบด้วยประสบการณ์ซึ่งจะอำนวยให้เกิดการสร้างความรู้ (การสร้างความหมาย)
  • การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่ Active และอยู่ในสภาพจริง (Authentic)

วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2556

การรู้สารสนเทศ: สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

โดย ดร.อนุชา โสมาบุตร
การรู้สารสนเทศ คืออะไร 
Information Literacy Defined
การรู้สารสนเทศ คือ ชุดของสมรรถนะที่จำเป็นของบุคคลในการรับรู้ (recognize) ความจำเป็นของสารสนเทศ และสามารถในการค้นหา ประเมินและใช้สารสนเทศที่จำเป็นอย่างมีประสิทธิภาพ การรู้สารสนเทศเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากขึ้นในสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและการสื่อสารอย่างรวดเร็วและมีการขยายตัวของแหล่งสารสนเทศมากขึ้น ด้วยเกิดความซับซ้อนที่เพิ่มขึ้นของสภาพแวดล้อมเช่นนี้ จะทำให้บุคคลมีทางเลือกหรือตัวเลือกของสารสนเทศที่หลากหลาย เช่น สารสนเทศจากการศึกษาค้นคว้า สารสนเทศที่ค้นพบจากการปฏิบัติงาน หรือแม้นแต่สารสนเทศที่เกิดจากการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งสารสนเทศอาจอยู่ในห้องสมุด แหล่งทรัพยากรสารสนเทศต่างๆ หน่วยงานเฉพาะทาง สื่อและอินเทอร์เน็ต ยิ่งไปกว่านั้น สารสนเทศที่เข้ายังบุคคลนั้น เป็นสารสนเทศที่อาจยังไม่ได้รับการคัดกรอง ขาดความชัดเจน ไม่สอดคล้องกับความต้องการ ไม่ถูกต้องและน่าเชื่อถือ นอกจากนี้ สารสนเทศยังสามารถค้นหาได้จากสื่อที่หลากหลาย ทั้งจากการได้รับฟัง การมองเห็นและการสัมผัสความรู้สึก ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นความท้าทายที่บุคคลาจะต้องประเมินและทำความเข้าใจในสารสนเทศที่รับรู้ ทั้งนี้ ความไม่แน่นอนของคุณภาพและการขยายตัวของสารสนเทศเป็นความท้าทายของสังคมเป็นอย่างยิ่ง โดยที่ความถูกต้องสมบูรณ์ของสารสนเทศไม่ได้ขึ้นอยู่กับตัวสารสนเทศเอง แต่ขึ้นอยู่กับความสามารถของสารสนเทศที่จะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพ

วันเสาร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2556

แนวคิดในการวิจัยและการตีพิมพ์

เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2556 ได้เข้าร่วมโครงการนักวิจัยใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปี 2557 ทางโครงการได้เชิญนักวิจัยมาถ่ายทอดประสบการ์ด้านการวิจัยและการตีพิมพ์ โดยมีแนวคิดที่น่าสนใจและสามารถนำไปเป็นแนวทางในการวิจัยและการตีพิมพ์ต่อไปอยู่หลายประเด็น

นักวิจัยท่านแรกที่ให้แนวคิดคือ รศ.ดร.ไพบูลย์ สิทธิถาวร จากคณะแพทย์ศาสตร์ ได้ให้แนวคิดดังนี้
Choice of Journal แนวคิดในการเลือกวารสารในการตีพิมพ์
โดยควรพิจารณาความเหมาะสมและสอดคล้องกับบทความของเรา ดังนี้

  • Impact factor 
  • Appropriate journalfor the work
  • Journal aim and policy
  • Page charge
  • Page restriction
  • Public access
Successful submission เป็นแนวคิดในการเสนอบทความเพื่อรับการตีพิมพ์
  • Search for author instruction
  • Select suitable type of manuscript
  • Follow format/component
  • Prepare cover letter
  • Suggested relevant reviewers
  • Content english quality
  • Submission checklist
นอกจากนั้นท่านยังแนะนำด้วยว่า ในการเขียนบทความตีพิมพ์หากมีประเด็นใดที่สำคัญ ควรปรากฏอยู่ใน abstract, research problem และ conclusion 

ท่านต่อมาที่ให้แนวคิดคือ ผศ.ดร.อังคณา ทองพูน พัฒนศร จากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ให้แนวคิดดังนี้
  • ควรวิจัยในหัวข้อที่เราอยากรู้อยากวิจัย
  • ประเด็นการวิจัยควรทำให้เป็นระดับสากล แม้จะเก็บข้อมูลในท้องถิ่นก็ตาม
  • การวิจัยต้องสร้างแรงกระตุ้นภายในด้วยตนเอง
  • การเขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ควรมีการ edit ภาษาโดยเจ้าของภาษา แต่มิใช่แก้ตามทั้งหมด


วันเสาร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2556

ทักษะหลักในศตวรรษที่ 21

ภาคีเพื่อทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ได้กำหนดองค์ประกอบที่สำคัญของกรอบความร่วมมือของการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 และการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นทักษะหลักของผู้เรียน โดยได้มีการมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดทักษะดังนี้

What is Research-based Learning?

การเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน (Research-based learning: RBL) มีลักษณะที่คาบเกี่ยวระหว่างวิธีการเรียนรู้แบบสืบเสาะ (enquiry/ inquiry-based learning) กับการเรียนรู้โดยใช้วิธีการทางการวิจัย โดยเป็นวิธีการเรียนรู้ที่ผู้เรียนมสุ่งค้นหาหรือแสวงหาคำตอบด้วยตนเองจากแหล่งความรู้ต่างๆ โดยที่ผู้สอนเป็นผู้กระตุ้น กำหนดเป็นเด็นและแนะนำเท่านั้น ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (problem-based learning) ที่ผู้เรียนจะต้องเสาะแสวงหาวิธีการและความรู้เพื่อมาแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง โดยผู้เรียนเป็นผู้ set ปัญหาและคอยแนะนำเท่านั้น หรือมีความค้ลายคลึงกับ project work, field-work, case studies เป็นต้น โดยการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน หากพิจารณาในกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สามารถจัดการเรียนรู้ได้หลายระดับ ดังนี้

วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ข้อสงสัยเกี่ยวกับ CLI: Constructivist Learning Innovation


ข้อสงสัยเกี่ยวกับ CLI: Constructivist Learning Innovation
%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%
นี่ค่ะที่อาจารย์ต้องการมั้ยคะ..
Constructivist ใน Learning Theory (อ้างอิงจากทฤษฎีของเพียเจ)
เด็กมีข้อมูลเดิมอยู่แล้ว เมื่อเกิดการเรียนรู้และทำความเข้าใจ จึงทำให้ได้ข้อมูลใหม่เกิดขึ้น
ตอนนี้ครูมีหน้าที่เพียง helping and suggestion ส่วนเด็กต้องเป็น active learner , think different, comparativeเป็นต้น
1. Project-base learning หรือ Problem-base learning
ก็ได้ คือ เราจะ give project หรืออาจเป็น problem เนี่ยให้เด็ก เช่น หนูต้องการสอนเรื่อง Daily Routine กับ Colors หนูก็จะถามว่า กิจวัตรประจำวันของเรานั้นมีอะไรบ้าง และสีมีอะไรบ้างทำยังไงให้ ตอบครูให้ได้เยอะๆ หลังจากนั้น..

วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

Active learning

Proponents of experiential learning often refer to active learning, and by this phrase they refer to the participatory nature of experiential learning; learners take an active role in their own learning, and this often also implies that learners have to take some responsibility for their own learning and advancement of understanding.

Active learning ไม่ได้เป็นแต่เพียงการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนวิ่งไปวิ่ง ขยัยโยกย้ายร่างการเท่านั้น ยังต้องจัดกิจกรรมและภารกิจการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้ตื่นตัวทางสมองและปัญญา โดยอาจสร้างภารกิจให้นักเรียนได้ค้นหาอย่างมีอป้าหมา การร่วมกันวิเคราะห์ สังเคราะห์ ตลอดจนการสรุปเชื่อมโยงลงสู่หลักการและการนำไปใช้แก้ปัญหาหรือช่วยในการใช้ชีวิตในสภาพจริงได้ แบบนี้แหละจึงเรียกว่า Active Learning!!