ค้นหาบล็อกนี้

วันศุกร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ทฤษฎีการเรียนรู้มีความสำคัญอย่างไร

ทฤษฎีมีการก่อกำเนิดจากร่มใหญ่ของปรัชญา ซึ่งปรัชญาก็คือกลุ่มหรือชุดความคิด ความเชื่อในเรื่องต่างๆ เช่น ปรัญชาการศึกษา คือ ความเชื่อเกี่ยวกับจัดการเรียนรู้ โดยนักปรัชญาต้องการจะตอบคำว่าที่ว่า "ความรู้คืออะไร" และ "จะศึกษาและเรียนรู้ความรู้นั้นได้อย่างไร"

ในอดีตมีปรัชญาการศึกษาที่เชื่อว่า "ความรู้เป็นสิ่งที่มีค่า เป็นสิ่งที่จีรัง ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เกิดขึ้นจากผู้อาวุโสหรือผู้ที่เป็นพหูสูต เท่านั้น" จึงนำมาสู่ทฤษฎีที่เรียนที่รู้ภายใต้ความเชื่อนี้ว่า เช่นนั้นแล้วหากเราจะเรียนรู้ความรู้ที่จีรังยั่งยืน ก็ต้องท่องจำความรู้ที่ผู้อาวุโส ผู้เป็นครูอาจารย์ได้บัญญัติไว้ ผู้เรียนถือเป็นผู้น้อย จะไม่สามรรถคิดหรือสร้างความรู้ใหม่ได้เอง จากปรัชญา ความเชื่อและทฤษฎีเช่นนี้ จึงนำมาส฿วิธีการเรียนรู้ที่เน้นการท่องจำ การทำซ้ำๆ ทำบ่อยๆ เพื่อให้จดจำความรู้ได้ ดังเช่น ที่เราพบเห็นในอดีต หรือแม้ในปัจจุบันก็ยังพอมีปรากฏให้เห็น เช่น "ท่องบทนี้มาสอบ" "คัดมาส่งครู 20 บรรทัด" "เปิดหน้า 23 แล้วอ่านให้เพื่อนจดตาม" ซึ่งในอดีตสามารถจัดการเรียนรู้แบบนี้ได้ เนื่องจากมีความเชื่อข้างต้น กอปรกับข้อมูล สารสนเทศยังมีน้อย ผู้คนยังไม่กล้าที่จะคิดหรือแม้คิดก็ไม่กล้าจะแสดงความเห็น หากความคิดของตนไปขัดแย้งกับผู้ใหญ่หรือผู้อาวุโส จึงทำให่เกิดองค์ความรู้น้อย ไม่มีองค์ความรู้ใหม่ การท่องจำ หรือทำซ้ำๆ ก็ยังสามารถพอทำได้

วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

10 ข้อห้ามสำหรับครู

1. หลีกเลี่ยงการสนิทสนมและเป็นมิตรจนเกินไปกับนักเรียนของคุณ เพราะครูไม่ใช่ลูกเสือที่จะต้องเป็นมิตรกับคนทุกคนและเป็นพี่น้องกับลูกเสืออื่นทั่วโลก การสนิทสนมเกินไปจะทำให้ขาดความยำเกรง ไม่ใช่ยำยำ
2. หลีกเลี่ยงการสนิทสนมกับนักเรียนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นพิเศษ เพราะคุณจะโดนประณามในใจว่า "รักไม่เท่ากัน"
3. หลีกเลี่ยงการไม่สนใจนักเรียนส่วนน้อยที่ไม่ตั้งใจเรียน แล้วไปสนใจนักเรียนส่วนใหญ่ที่ตั้งใจเรียน ซึ่งคุณจะเสียโอกาสในการโชว์ฝีมือไปทั้งชาติ เพราะครูคือสอนคนให้เป็นคน นักเรียนที่ตั้งในเรียนเป็นคนไปแล้ว  แต่คนที่ไม่สนใจเรียน นั่นแหละคือภาระของคุณ
4. หลีกเลี่ยงการฉีกหน้าหรือทำให้นักเรียนรคุณอับอาย เช่นการพูดถึงจุดด้อยของเขา การดูหมิ่นเหยียดหยาม หรือการทำให้นักเรียนเกิดความไม่มั่นใจ หากทำเช่นั้นวิชาของคุณจะถูกเกลียดไปตลอดชีพ
5. หลีกเลี่ยงการสอนโดยการตะโกน ใช้เสียงสูงหรือตะคอก เพราะเป็นพฤติกรรมของผู้คุมในคุก ไม่ใช่ครู

วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การจัดการเรียนรู้แบบการเรียนแบบร่วมมือ (Cooperative Learning)

อนุชา  โสมาบุตร, anuchalive@gmail.com

1. ความหมายของการจัดการเรียนรู้แบบการเรียนแบบร่วมมือ
การเรียนแบบร่วมมือ เป็นกลยุทธ์ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่จัดให้นักเรียนเรียนด้วยกันเป็นกลุ่มเล็กแบบคละความสามารถ ให้ทํางานร่วมกัน ช่วยเหลือกันในการผสมผสานความรู้ที่มีอยู่เดิมกับความรู้ใหม่ และค้นพบความหมายของสิ่งที่ศึกษาด้วยกลุ่ม   โดยทํากิจกรรมในการสืบค้น (Explore) อภิปราย (Discuss) อธิบาย (Explain) บรรยาย (Relate) สอบสวนแนวความคิดและแก้ปัญหาร่วมกันในกลุ่ม เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายร่วมกัน เป็นวิธีเรียนวิธีหนึ่งที่กำลังได้รับความสนใจและนำไปประยุกต์ในการเรียนการสอนทุกวิชาและทุกระดับชั้น

การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

อนุชา  โสมาบุตร, anuchalive@gmail.com 
การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ:
เป็นแนวคิดที่มุ่งเน้นวิธีการเรียนรู้ของผู้เรียนที่ให้ผู้เรียนได้ลงมือสร้างความรู้ด้วยตนเองและสามารถนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์
ในโลกปัจจุบันพบว่าความต้องการเกี่ยวกับตัวผู้เรียนเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากที่ผ่านมาอาจจะมีการตอบสนองต่อการเรียนแบบท่องจำมามากแล้ว แต่ในปัจจุบันในสภาพชีวิตจริงต้องการบุคคลในสังคมที่มีความสามารถในการใช้ทักษะการให้เหตุผลในระดับที่สูงขึ้นในการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน ซึ่งพบว่าความสามารถในทักษะดังกล่าวที่จะนำมาใช้ในการแก้ปัญหาไม่ค่อยปรากฏให้เห็นหรือมีอยู่น้อยมาก ในปัจจุบันจะพบว่าทุกๆ คนไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ทำงานในโรงงานประกอบเครื่องจักรตามสายพานหรือทำงานที่ต้องร่วมกันคิดเป็นทีม ต่างล้วนจำเป็นต้องมีทักษะการแก้ปัญหาด้วยกันทั้งหมด ซึ่งนั่นหมายความว่าแนวความคิดเกี่ยวกับการจัดการศึกษาต้องเปลี่ยนไป ดังที่ Driscoll (1994) กล่าวว่า อาจจะต้องเปลี่ยนจากแนวคิดที่ว่า ผู้เรียนเป็นภาชนะที่ว่างเปล่าที่รอรับการเติมให้เต็ม มาคิดว่า ผู้เรียนเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความตื่นตัว กระฉับกระเฉงและค้นหาความหมายของสิ่งต่างๆ ซึ่งขณะนี้ผู้เรียนจะถูกมองว่าเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมอย่างตื่นตัวในการเรียนรู้ คิดค้นหาวิธีที่จะวิเคราะห์ ตั้งคำถาม อธิบายและทำความเข้าใจต่อสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาในปัจจุบันเป็นยุคที่การส่งข้อมูลที่รวดเร็วมาก เทคโนโลยีเปิดโอกาสให้แต่ละบุคคลได้รับ รวบรวม วิเคราะห์และสื่อสารข้อมูลข่าวสารได้อย่างละเอียดและรวดเร็วมากกว่าที่ผ่านมา เป็นผลที่ทำให้ความต้องการและขอบเขตเกี่ยวกับการศึกษาขยายเพิ่มมากขึ้น เพื่อที่จะช่วยผู้เรียนทุกคนได้รับทักษะที่เพิ่มมากขึ้น ที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดความพร้อมในการวิเคราะห์ ตัดสินใจ และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตจริงที่ซับซ้อน ดังที่ Bruner (1993) กล่าวว่า "ผู้เรียนต้องยกระดับการเรียนที่เพิ่มจาก “การจดจำ” ข้อเท็จจริงไปสู่การเริ่มต้นที่จะคิดอย่างมีวิจารณญาณและสร้างสรรค์" ความจำเป็นที่เพิ่มขึ้นเหล่านี้ นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงวิธีการที่ครูผู้สอนจะมีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน จากเดิมจะเป็นการบอก ถ่ายทอด ความรู้จากครูไปสู่ ผู้เรียน มาเป็น การจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ การยิ่งไปกว่านั้นความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจำเป็นที่ครูผู้สอนต้องมีพื้นฐานของความเข้าใจอย่างดีเกี่ยวกับผู้เรียนแต่ละคนมีวิธีการเรียนรู้อย่างไร