ค้นหาบล็อกนี้

วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ข้อสงสัยเกี่ยวกับ CLI: Constructivist Learning Innovation


ข้อสงสัยเกี่ยวกับ CLI: Constructivist Learning Innovation
%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%
นี่ค่ะที่อาจารย์ต้องการมั้ยคะ..
Constructivist ใน Learning Theory (อ้างอิงจากทฤษฎีของเพียเจ)
เด็กมีข้อมูลเดิมอยู่แล้ว เมื่อเกิดการเรียนรู้และทำความเข้าใจ จึงทำให้ได้ข้อมูลใหม่เกิดขึ้น
ตอนนี้ครูมีหน้าที่เพียง helping and suggestion ส่วนเด็กต้องเป็น active learner , think different, comparativeเป็นต้น
1. Project-base learning หรือ Problem-base learning
ก็ได้ คือ เราจะ give project หรืออาจเป็น problem เนี่ยให้เด็ก เช่น หนูต้องการสอนเรื่อง Daily Routine กับ Colors หนูก็จะถามว่า กิจวัตรประจำวันของเรานั้นมีอะไรบ้าง และสีมีอะไรบ้างทำยังไงให้ ตอบครูให้ได้เยอะๆ หลังจากนั้น..


--------------------------------------------------
ตอบ 1
เข้าใจถูกบางส่วน แต่ขออธิบายเพิ่มเติมในส่วนการกระตุ้น  โดยแนวคิดของ Piaget เชื่อการกระตุ้นด้วย Problem มากกว่า Project ดังนั้น ในการกระตุ้นให้นักเรียนควรใช้ "ปัญหา" หรือสถานการร์ที่ "เป็นปัญหา" โดยสถานการณ์นั้นต้อง (1) มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นได้จริง และ (2) เป็นสถานการณ์ที่ใกล้เคียงกับชีวิตจริงของนักเรียน (Focus on realistic approaches to solving real-world problems) ดังนั้น การที่กระตุ้นโดยการ "ถามว่า กิจวัตรประจำวันของเรานั้นมีอะไรบ้าง และสีมีอะไรบ้างทำยังไงให้ ตอบครูให้ได้เยอะๆ" จึงต้องวิเคราะห์เชื่อมโยงกับหลักการข้างต้น ว่าสอดคล้องหรือไม่ นั้นคือ (1) สถานการณ์ที่มีคนมาถามว่า "กิจวัตรประจำวันของเรานั้นมีอะไรบ้าง และสีมีอะไรบ้างทำยังไงให้ ตอบครูให้ได้เยอะๆ" จะเกิดขึ้นในชีวิตจริงหรือไม่, นักเรียนจะถูกถามโดยใคร (นอกจากครู) และถ้านักเรียนตอบไม่ได้จะส่งผลต่อชีวิตอย่างไร (นอกจากถูกหักคะแนนหรือสอบไม่ผ่าน) ศึกษาการออกแบบสถานการณ์ปัญหาเพิ่มเติมที่ (http://www.iteachercafe.com/main/index.php?option=com_content&view=article&id=96&Itemid=474)

%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%
2. Discovery ก็คือ find out something
ก็คือ เด็กต้องไปเรียนรู้มา โดยหนูก็แนะนำให้เข้าไปหาข้อมูลได้ที่ site ที่หนูทำขึ้นเพื่อเป็นแหล่งค้นคว้า (resource) หรือจะใช้เว็บอื่นด้วยก็ได้ แต่หลักๆก็คือ site ที่หนูทำขึ้น จะรวบรวมศัพท์เกี่ยวกับ daily routine และ Colors ไว้ จากนั้น..เด็กก็จะมา share หรือ discuss กันว่ารู้คำว่าอะไรบ้าง ได้คำไหนเพิ่มเติมจากเดิมที่รู้อยู่แล้ว
--------------------------------------------------
ตอบ 2
เข้าใจถูกแล้ว แต่เพิ่มเติมด้วยว่า Resource ที่จัดเตรียมให้นักเรียนต้อง (1) เพียงพอและเหมาะสมต่อการแก้ไขปัญหา (ไม่มากไป-ไม่น้อยไป, ไม่ใช่มีเนื้อหาอะไรก็ใส่มา) (2) นักเรียนสามารถศึกษาเนื้อหาจะ Resource ที่เตรียมไว้และทำความเข้าใจได้โดยง่าย จากการที่ครูออกแบบแหล่งการเรียนรู้ที่สนับสนุนการเรียนรู้ เช่น ออกแบบตามแนวคิด SOI Model (ดูเพิ่มเติม: http://www.personal.psu.edu/wxh139/SOI.htm) หรือ (http://www.iteachercafe.com/main/index.php?option=com_content&view=article&id=97&Itemid=475)

%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%
3. Scaffolding หรือ mediated learning
ก็คือ พวก discovery learning หรืออะไรก็ตามที่เราสร้างขึ้น เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ในเรื่องของ daily routine นั่นก็คือ หนูสร้าง site เรื่องนี้ขึ้นมา คำว่า discover learning ก็คือ เด็กได้เรียนรู้โดยการทดลองเอง จนเกิดองค์ความรู้ใหม่ จากองค์ความรู้เดิม นั่นก็คือ ตอนแรกเรียนเรื่องสี ก็จะมีเกมเรื่องทายชื่อสีให้แล้วกดตามชื่อสีที่ audio พูด หลังจากนั้น ก็เปนการเล่นเกม ผสมสี (mix color) ซึ่งเด็กสามารถเลือกสีที่จะมิกซ์ได้ด้วยตอนเอง แล้วผลลัพธ์ของสีก็จะเกิดขึ้น นี่คือการที่เด็กเรียนเรื่องสีมาแล้ว รู้อยู่แล้วว่าสีเดี่ยวๆนั้นมีอะไรบ้าง และเมื่อนำมาผสมกันก็จะได้สีใหม่เกิดขึ้นเป็นสี..(ตามผลลัพธ์ที่เลือก) ส่วน mediated learning ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเด็ก ไม่รู้ว่าอันไหนคือ คำว่า “teeth brush” ตอนที่เพื่อนกำลัง discuss กัน เด็กก็สามารถเปิด site ขึ้นมาดูรูปภาพใน slid show ได้ จะมีรูปภาพพร้อมศัพท์ประกอบ ซึ่งเด็กก็จะรูปแปรงฟัน ที่เขียนว่า tooth brush แล้วเด็กก็จะ อ๋อออ มันคือแปรงฟัน นี่เอง *picture จึงเป็น media learning
--------------------------------------------------
ตอบ 3
Scaffolding โดยรากศัพท์แปลว่า นั่งร้าน ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ถ้าช่างหรือวิศวกร ต้องการก่อสร้างหรือทาสีในที่สูง โดยความสูงของช่างหรือวิศวกร ไม่สามารถเอื้อมถึงได้ จึงจำเป็นต้องใช้นั่งร้านมาเป็นฐานที่จะช่วยเหลือให้สามารถทำงานได้โดยสะดวก โดยหากจะเปรียบการเรียนรู้กับการก่อสร้างหรือการทาสี ช่างหรือวิศวกรที่มีความสูงจำกัด อาจเทียบได้กับนักเรียนที่มีความรู้เดิม (Prior knowledge) ในระดับหนึ่งที่ไม่สามารถวางแผน หรือ สืบค้นข้อมูล หรือหากลยุทธ์ในการแก้ไขปัญหาได้ (ตามแนวคิด (Zone of Proximal Developmen) จึงจำเป็นต้องมีอะไรสักอย่างที่มาช่วยให้สามารถปีนข้ามปัญหานั้นได้ นั้นคือ การช่วยเหลือให้นักเรียนที่มีพื้นฐานต่ำ ได้สามารถวางแผน หรือ สืบค้นข้อมูล หรือหากลยุทธ์ในการแก้ไขปัญหาได้ (แต่ไม่ใช่การบอกคำตอบ) ซึ่งการช่วยเหลือนี่แหละเรียกว่า Scaffolding (อ่านเพิ่มเติม: http://www.iteachercafe.com/main/index.php?option=com_content&view=article&id=98&Itemid=476)

%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%
4. Cooperative learning
ก็คือ การให้เด็กได้ช่วยกันคิด เป็นการเพิ่มการเรียนรู้โดยแชร์กันกับเพื่อนๆ ( increase learning by interaction : share to friend) สำหรับเด็กที่ ฉลาดๆหรือ expert ก็จะ guide เพื่อน แต่ถ้าเด็กเก่งไม่ไกด์ ก็จะกลายเป็น model ให้เพื่อนได้ เช่น เด็กอ่อนกว่านั้นจะเรียนรู้จากเด็กเก่งโดยการสังเกต คือ สังเกตว่าเพื่อนที่ตอบคำศัพท์เรื่อง daily routine ได้เยอะๆ ได้หลายคำเนี่ยเค้าตอบว่าอะไรบ้าง โดยการ observing เวลาเพื่อนเรียนรู้จาก site หรือตอบถามนั่นเอง
- การวัดประเมินผลเด็ก ก็ ดูได้จาก exercises ที่ให้ทำ เป็น pre-test กับ post-test เรื่อง Daily Routine เป็นต้น
- แนวทางการแก้ปัญหาก็ใช้หลัก ZPD ( zone of Proximal Development) เข้ามาช่วย คือ ครู,เพื่อน,ผู้ปกครอง ที่รู้หรือเชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆมาแนะนำหรือสอนให้เข้าใจ
--------------------------------------------------
ตอบ 4
โดย Concept เข้าใจถูกต้องแล้ว แต่ในกระบวนทัศน์ของ Constructivist จะใช้ "Collaborative Learning" ไม่ใช้ "Cooperative learning"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น