ค้นหาบล็อกนี้

วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2556

การรู้สารสนเทศ: สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

โดย ดร.อนุชา โสมาบุตร
การรู้สารสนเทศ คืออะไร 
Information Literacy Defined
การรู้สารสนเทศ คือ ชุดของสมรรถนะที่จำเป็นของบุคคลในการรับรู้ (recognize) ความจำเป็นของสารสนเทศ และสามารถในการค้นหา ประเมินและใช้สารสนเทศที่จำเป็นอย่างมีประสิทธิภาพ การรู้สารสนเทศเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากขึ้นในสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและการสื่อสารอย่างรวดเร็วและมีการขยายตัวของแหล่งสารสนเทศมากขึ้น ด้วยเกิดความซับซ้อนที่เพิ่มขึ้นของสภาพแวดล้อมเช่นนี้ จะทำให้บุคคลมีทางเลือกหรือตัวเลือกของสารสนเทศที่หลากหลาย เช่น สารสนเทศจากการศึกษาค้นคว้า สารสนเทศที่ค้นพบจากการปฏิบัติงาน หรือแม้นแต่สารสนเทศที่เกิดจากการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งสารสนเทศอาจอยู่ในห้องสมุด แหล่งทรัพยากรสารสนเทศต่างๆ หน่วยงานเฉพาะทาง สื่อและอินเทอร์เน็ต ยิ่งไปกว่านั้น สารสนเทศที่เข้ายังบุคคลนั้น เป็นสารสนเทศที่อาจยังไม่ได้รับการคัดกรอง ขาดความชัดเจน ไม่สอดคล้องกับความต้องการ ไม่ถูกต้องและน่าเชื่อถือ นอกจากนี้ สารสนเทศยังสามารถค้นหาได้จากสื่อที่หลากหลาย ทั้งจากการได้รับฟัง การมองเห็นและการสัมผัสความรู้สึก ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นความท้าทายที่บุคคลาจะต้องประเมินและทำความเข้าใจในสารสนเทศที่รับรู้ ทั้งนี้ ความไม่แน่นอนของคุณภาพและการขยายตัวของสารสนเทศเป็นความท้าทายของสังคมเป็นอย่างยิ่ง โดยที่ความถูกต้องสมบูรณ์ของสารสนเทศไม่ได้ขึ้นอยู่กับตัวสารสนเทศเอง แต่ขึ้นอยู่กับความสามารถของสารสนเทศที่จะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพ


การรู้สารสนเทศเป็นพื้นฐานสำหรับการเรียนรู้ตลอดชีวิต เนื่องจากเป็นปกติของทุกสาขาอาชีพ ระดับการศึกษา สังคมและสภาพแวดล้อมที่จะต้องใช้สารสนเทศ โดยการรู้สารสนเทศจะทำให้ผู้เรียนใส่ใจในเนื้อหาหลักและทำให้เกิดการตรวจสอบเนื้อหาด้วยตนเอง รวมทั้งเป้นการกำกับกระบวนการเรียนรู้ของตนเองด้วย โดยบุคคลที่มีการรู้สารสนเทศ ต้องมีความสามารถดังนี้
1. กำหนดขอบเขตของสารสนเทศที่จำเป็นได้
2. เข้าถึงสารสนเทศที่จำเป็นได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
3. ประเมินสารสนเทศและแหล่งที่มาอย่างมีวิจารญาณ
4. เลือกและรวบรวมสารสนเทศเป็นหมวดหมู่ 
5. ใช้สารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุวัตถุประสงค์
6. ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้สารสนเทศอย่างรอบด้าน เช่น ประเด็นทางเศรษฐศาสตร์ การเมืองและสังคม
7. เข้าถึงและใช้สารสนเทศอย่างมีจริยธรรมและถูกต้องตามกฎหมาย

การรู้สารสนเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศ
Information Literacy and Information Technology
การรู้สารสนเทศมีความเกี่ยวข้องกับทักษะเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งมีนัยสำคัญสำหรับการใช้สารสนเทศของบุคคล ระบบการศึกษา และสังคมโดยรวม ทักษะเทคโนโลยีสารสนเทศทพให้บุคคลสามารถใช้คอมพิวเตอร์ โปรแกรมประยุกต์ ฐานข้อมูลและเทคโนโลยีต่างๆ ในการเข้าถึงสารสนเทศต่างๆ อย่างกว้างขวาง ทั้งเพื่องานวิชาการ การปฏิบัติงานและเป้าหมายส่วนบุคคล บุคคลที่รู้สารสนเทศจำเป็นต้องพัฒนาทักษะเทคโนโลยีสารสนเทศ

การรู้สารสนเทศซึ่งมีความทับซ้อนกับทักษะเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นพื้นฐานที่สำคัญในการพัฒนาสมรรถนะของบุคคล ยิ่งกว่านั้น ทักษะเทคโนโลยีสารสนเทศจะสนับสนุนและส่งเสริมการรู้สารสนเทศ ในปี 1999 ได้มีรายงานจากสภาวิจัยแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา ที่ให้มีการส่งเสริมแนวคิด "ความคล่องแคล่ว" (fluency) กับเทคโนโลยีสารสนเทศและการระบุถึงความสัมพันธ์กันระหว่างการรู้สารสนเทศ การรู้คอมพิวเตอร์ (computer literacy) และกรอบสมรรถนะด้านเทคโนโลยี โดยในรายงานระบุว่า การรู้คอมพิวเตอร์ เน้นการเรียนรู้เฉพาะฮาร์ดแวร์และซอร์ฟแวร์ประยุกต์ ในขณะที่ความคล่องด้วยเทคโนโลยี (fluency with technology) มุ่งเน้นทำความเข้าใจแนวคิดพื้นฐานของเทคโนโลยี การประยุกต์ในการแก้ปัญหาและวิจารณญาณในการใช้เทคโนโลยี นอกจากนี้ รายงานยังกล่าวถึงความแตกต่างระหว่างความคล่องด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการรู้สารสนเทศที่เปรียบได้กับการศึกษาระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษา ในขณะที่การรู้สารสนเทศมุ่งเน้นเกี่ยวกับเนื้อหา การสื่อสาร การวิเคราะห์ การค้าหาสารสนเทศ และการประเมิน แต่ความคล่องด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมุ่งเน้นความเข้าใจเชิงลึกเกี่ยวกับเทคโนโลยีกับการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ซึ่งจะสามารถพัฒนาทักษะให้สูงขึ้นได้
ความคล่องด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศอาจต้องใช้ความสามารถทางปัญญามากกว่าการท่องจำซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ที่เกี่ยวข้องกับ "ความรู้คอมพิวเตอร์" โดยหากกล่าวอีกนัยหนึ่ง การรู้สารสนเทศเป็นกรอบการทำงานทางปัญญาในการทำความเข้าใจ การค้นหา การประเมินและการใช้สารสนเทศ ซึ่งกิจกรรมทางปัญญาดังกล่าวจะประสบความสำเร็จได้ส่วนหนึ่งต้องอาศัยความคล่องด้วยเทคโนโลยีด้วยวิธีการในการตรวจสอบ แต่ที่สำคัญที่สุดคือการตัดสินใจและการให้เกิดผลเชิงวพากษ์ ซึ่งการรู้สารสนเทศเบื้องต้นและการขยายไปถึงการเรียนรู้ตลอดชีวิตโดยใช้ความสามารถซึ่งอาจจะใช้เทคโนโลยี แต่ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความอิสระส่วนตัวของแต่ละบุคคล

การรู้สารสนเทศกับการศึกษาระดับอุดมศึกษา
Information Literacy and Higher Education

การพัฒนาผู้เรียนให้เป็นผู้เรียนตลอดชีวิตเป็นพันธกิจหลักของสถาบันอุดมศึกษา โดยเชื่อว่านักศึกษาที่มีความสามารถทางสติปัญญาเกี่ยวกับการคิดเชิงเหตุผลและการคิดอย่างมีวิจารณาญาณจะช่วยให้นักศึกษาสามารถสร้างแนวคิดในการเรียนรู้ของตนเอง ดังนั้น วิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัยจะต้องสร้างรากฐานสำหรับการพัฒนาในวิชาชีพที่ต่อเนื่อง รวมถึงการสร้างความเข้าใจในบทบาทความเป็นพลเมืองและสมาชิกของสังคม การรู้สารสนเทศเป็นองค์ประกอบสำคัญที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต สมรรถนะการรู้สารสนเทศจะสามารถขยายการเรียนรู้ที่จัดขึ้นเพียงในชั้นเรียน และยังสามารถทำให้นักศึกษาฝึกฝนการตรวจสอบและกำกับกระบวนการเรียนรู้ของตัวเอง ซึ่งจะเริ่มเข้าสู่ความเป้นมีอาชีพ ส่งเสริมให้เกิดความรับผิดชอบในทุกด้านของชีวิต เนื่องจากสมรรถนะการรู้สารสนเทศของนักศึกษาจะมีจุดเดนเกี่ยวกับการประเมิน การจัดการและการใช้สารสนเทศ ซึ่งในปัจุบันเป็นที่รับรู้และยอมรับโดยทั่วไปว่าการรู้สารสนเทศเป้นสิ่งจำเป็นสำหรับนักศึกษา
สำหรับนักศึกษาที่ไม่ได้อยู่ในมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ แหล่งสารสนเทศส่วนใหญ่จะอยู่ในระบบเครือข่าย และช่องทางอื่นๆ และการขยายตัวของเทคโนโลยีการเรียนรู้สามารถทำให้การเรียนการสอนและการเรียนรู้เกิดขึ้นได้แม้ในขณะที่ครูและนักศึกษาไม่ได้อยู่ในสถานที่และเวลาเดียวกัน ความท้าทายสำหรับการส่งเสริมการรู้สารสนเทศในหลักสูตรการศึกษาทางไกลคือ การพัฒนาประสบการณ์ในการเรียนรู้ของผู้เรียนให้เทียบเท่กับการเรียนรู้ในชั้นเรียนแบบปกติ โดยสมรรถนะการรู้สารสนเทศในการศึกษาทางไกลของนักศึกษา ควรจะเทียบได้กับนักศึกษาอื่นที่เรียนในชั้นเรียนปกติ
การบูรณาการการรู้สารสนเทศในหลักสูตร โปรแกรมวิชาและกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ จำเป็นจะต้องใช้ความพยายามอย่างสูงในการทำงานร่วมกับคณาจารย์ บรรณารักษ์และผู้บริหาร โดยอาจต้องมีการชี้แจง แลกเปลี่ยนความเห็นและอภิปราย รวมทั้งเป็นแกนนำในการสร้างบริบทสำหรับการเรียนรู้ นอกจากนั้น ในฐานะของอาจารย์ต้อกระต้นให้นักศึกษาค้นหาสิ่งที่ตนเองยังไม่รู้ โดยการจัดเตรียมสารสนเทศที่ครบถ้วนตามความต้องการ และกำกับความคืบหน้าในการเรียนรู้ของนักศึกษา นอกจากนั้น บรรณารักษ์ต้องประเมินและเลือกโปรแกรมและบริกาต่างๆ ที่จำอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงสารสนเทศ รวมทั้งการจัดทำข้อแนะนำเกี่ยวกับการค้นหาสารสนเทศสำหรับคณาจารย์และนักศึกษา ส่วนผู้บริหารควรกำหนดและพัฒนากลไกการทำงานร่วมกันและการพัฒนาคณาจารย์ บรรณารักษ์และผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการรู้สารสนเทศของนักศึกษา รวมทั้งการวางแผนและจัดหางบประมาณสำหรับการพัฒนา และจัดหาทรัพยากรในการใช้งานที่ยั่งยืน


Educational Technology Programs
Khon Kaen University

Follow on Twitter @iteachercafe

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น