อนุชา โสมาบุตร, anuchalive@gmail.com
1. ความหมายของการจัดการเรียนรู้แบบการเรียนแบบร่วมมือการเรียนแบบร่วมมือ เป็นกลยุทธ์ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่จัดให้นักเรียนเรียนด้วยกันเป็นกลุ่มเล็กแบบคละความสามารถ ให้ทํางานร่วมกัน ช่วยเหลือกันในการผสมผสานความรู้ที่มีอยู่เดิมกับความรู้ใหม่ และค้นพบความหมายของสิ่งที่ศึกษาด้วยกลุ่ม โดยทํากิจกรรมในการสืบค้น (Explore) อภิปราย (Discuss) อธิบาย (Explain) บรรยาย (Relate) สอบสวนแนวความคิดและแก้ปัญหาร่วมกันในกลุ่ม เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายร่วมกัน เป็นวิธีเรียนวิธีหนึ่งที่กำลังได้รับความสนใจและนำไปประยุกต์ในการเรียนการสอนทุกวิชาและทุกระดับชั้น
2. ความสำคัญของการจัดการเรียนรู้แบบการเรียนแบบร่วมมือ
การเรียนแบบร่วมมือ มีแนวคิดซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเชื่อต่อไปนี้
1) การเรียนแบบร่วมมือจะสร้างแรงจูงใจในการเรียนมากกว่าการเรียนรายบุคคลหรือ การแข่งขัน ความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของกลุ่มจะสร้างพลังในทางบวกให้แก่กลุ่ม
2) สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มจะเรียนรู้จากกันและกัน จะพึ่งพากันในการเรียนรู้
3) การมีปฏิสัมพันธ์ในกลุ่ม นอกจากจะพัฒนาความรู้ ความเข้าใจในเนื้อหาวิชาที่เรียนแล้วยังช่วยพัฒนาทักษะทางสังคมไปได้ด้วย เป็นรูปแบบกิจกรรมที่พัฒนาทางสติปัญญาที่เพิ่มพูนการเรียนรู้มากกว่าการเรียนการสอนรายบุคคล
4) การเรียนแบบร่วมมือจะเพิ่มพูนความรู้สึกในทางบวกต่อกันและกัน ระหว่างสมาชิกในกลุ่ม ลดความรู้สึกโดดเดี่ยวและห่างเหิน ในทางตรงข้ามจะสร้างความสัมพันธ์และความรู้สึกที่ดีต่อบุคคลอื่น
5) การเรียนแบบร่วมมือจะพัฒนาความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเอง รู้จักตนเอง จากผลการเรียนรู้ที่ดีขึ้น และจากสภาวะแวดล้อมที่ทํ าให้ตระหนักว่าตัวเองได้รับการยอมรับและเอาใจใส่จากสมาชิก ในกลุ่ม
6) ผู้เรียนสามารถพัฒนาความสามารถในการทํ างานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพจากงานที่กําหนดให้กลุ่มผู้รับผิดชอบ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ร่วมมือกันทํางานมากเท่าใด ผู้เรียนจะสามารถพัฒนาทักษะทางสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทักษะการทํ างานร่วมกันมากขึ้นเท่านั้น
7) ทักษะทางสังคมที่จํ าเป็นต่าง ๆ สามารถเรียนรู้และฝึกฝนได้ เพื่อประสิทธิภาพของการทํางานร่วมกัน
8) ทําให้ผู้เรียนมีทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง และการรับรู้จากกันและกันด้วยวิธีที่หลากหลาย
9) ส่งเสริมให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ทั้งในการคิด การสร้างปัญหาและการแก้ปัญหา
(Joyce, Weil and Showers. 1992)
3. หลักสําคัญของการเรียนแบบร่วมมือ
การเรียนแบบร่วมมือจะประสบผลสํ าเร็จได้ต้องคํ านึงถึงหลักการที่สําคัญ 3 ประการ คือ
1) รางวัลหรือเป้าหมายกลุ่ม (Team rewards or group goals) ในการจัดการเรียนการสอน ผู้สอนจะต้องตั้งเป้าหมายหรือรางวัลไว้ เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความพยายามในการเรียนรู้มากขึ้น และพยายามปรับพฤติกรรมของตนเพื่อความสําเร็จของกลุ่ม รางวัลที่กําหนดอาจเป็นสิ่งของ ประกาศนียบัตร คําชมเชยการเชิดชูเกียรติ
2) ความสามารถของแต่ละบุคคลในกลุ่ม (Individual accountability) การจัดการเรียนการสอนถึงแม้จะอยู่ในรูปของกลุ่ม แต่จะต้องมีขั้นตอนที่สามารถบอกถึงความสามารถของสมาชิกแต่ละคนได้ว่า เข้าใจบทเรียนมากน้อยเพียงใด ในการเรียนแต่ละครั้งต้องมั่นใจว่าสมาชิกทุกคนในกลุ่มเข้าใจเนื้อหาที่เรียน เป้าหมายของกลุ่มจะประสบผลสํ าเร็จได้ต้องขึ้นอยู่กับความสามารถของทุกคนในกลุ่ม
3) สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มมีโอกาสที่จะช่วยให้กลุ่มประสบผลสําเร็จได้เท่าเทียมกัน (Equal opportunities for success) นักเรียนทุกคนในกลุ่มมีส่วนช่วยเหลือกลุ่มของตนเองให้ผ่านกิจกรรมไปได้เท่าเทียมกันทั้งคนเก่ง ปานกลางและอ่อน
4. รูปแบบของกิจกรรมการเรียนแบบร่วมมือ
ในราวต้นปี ค.ศ. 1970 ได้มีกลุ่มนักวิจัยเริ่มให้ความสนใจเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการเรียน
แบบร่วมมือในชั้นเรียน จากการศึกษาแนวคิดพื้นฐานและกิจกรรมการเรียนการสอนที่จัดขึ้น อาจจําแนกรูปแบบการเรียนแบบร่วมมือออกเป็น 3 รูปแบบ ดังนี้
1) รูปแบบการเรียนแบบร่วมมือตามแนวคิดของ โรเบิร์ท สลาวิน (Robert Slavin) และคณะ จากมหาวิทยาลัย จอห์น ฮอบกินส์
2) รูปแบบตามแนวคิดของเดวิด จอห์นสัน (David Johnson) และคณะ จากมหาวิทยาลัยมินิโซตา
3) รูปแบบในงานเฉพาะอย่าง เช่น แบบ GI และ Co – op Co – op
สรุปรูปแบบของกิจกรรมการเรียนแบบร่วมมือได้ดังนี้
ภาพแสดงรูปแบบของกิจกรรมการเรียนแบบร่วมมือ
สลาวินได้พัฒนาเทคนิคการเรียนแบบร่วมมือ โดยยึดหลักการที่สําคัญ 3 ประการคือ รางวัลและเป้าหมายของกลุ่ม ความหมายหรือความสําคัญของแต่ละบุคคล และโอกาสในการช่วยเหลือให้กลุ่มประสบผลสําเร็จเท่าเทียมกัน จากผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า รางวัลของกลุ่มและความหมายของ แต่ละบุคคลต่อกลุ่มเป็นลักษณะที่จําเป็นและสําคัญต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน (Slavin, 1987) รูปแบบการเรียนแบบร่วมมือของกลุ่มของสลาวินที่เป็นที่ยอมรับกันแพร่หลาย มีดังต่อไปนี้
1) STAD (Student Teams -Achievement Division) เป็นรูปแบบการเรียนรู้มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาการสัมฤทธิ์พลของการเรียนและทักษะทางสังคมเป็นสําคัญ
2) TGT (Team Games Tournament) เป็นรูปแบบที่คล้ายกับ STAD แต่เป็นการจูงใจใน
การเรียนเพิ่มขึ้น โดยการใช้การแข่งขันเกมแทนการทดสอบย่อย
3) TAI (Team Assisted Individualization) เป็นรูปแบบการเรียนที่ผสมผสานแนวคิด
ระหว่างการร่วมมือในการเรียนรู้กับการสอนเป็นรายบุคคล (Individualized Instruction) รูปแบบ
ของ TAI เป็นการประยุกต์ใช้กับการสอนคณิตศาสตร์
4) CIRC (Cooperative Integrated Reading and Composition) เป็นรูปแบบการเรียน
แบบร่วมมือแบบผสมผสาน ที่มุ่งพัฒนาขึ้นเพื่อสอนการอ่านและการเขียนสําหรับนักเรียนประถมศึกษาตอนปลายโดยเฉพาะ
5) Jigsaw ผู้ที่คิดค้นการเรียนการสอนแบบ Jigsaw เริ่มแรกคือ Elliot – Aronson และคณะ
(1978) หลังจากนั้น สลาวินได้นําแนวคิดดังกล่าวมาปรับขยายเพื่อให้สอดคล้องกับรูปแบบการเรียนแบบร่วมมือมากยิ่งขึ้น เป็นรูปแบบที่เหมาะสมกับวิชาที่เกี่ยวข้องกับการบรรยาย เช่น สังคมศึกษาวรรณคดี วิทยาศาสตร์ในบางเรื่อง รวมทั้งวิชาอื่น ๆ ที่เน้นการพัฒนาความรู้ ความเข้าใจมากกว่าพัฒนาทักษะ
6) Co – op Co – op เป็นรูปแบบที่พัฒนาโดย Shlomo และ Yael Shsran ที่ใช้ในงาน
เฉพาะอย่าง ลักษณะสําคัญคือ สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มย่อยจะได้รับมอบหมายให้ศึกษาเนื้อหา หรือ
ทํ ากิจกรรมที่ต่างกัน ทํ าเสร็จแล้วนําผลงานมารวมกันเป็นกลุ่มร่วมกันแก้ไขทบทวนแล้วนํามาเสนอ
ต่อชั้นเรียน
7) การเล่าเรื่องรอบวง (Round robin) เป็นเทคนิคการเรียนแบบร่วมมือที่เปิดโอกาสให้สมาชิกทุกคนในกลุ่มได้เล่าประสบการณ์ ความรู้ สิ่งที่ตนกํ าลังศึกษา สิ่งที่ตนประทับใจให้เพื่อน ๆ ในกลุ่มฟัง
8) มุมสนทนา (Corners) เริ่มต้นจากการให้ผู้เรียนกลุ่มย่อยแต่ละกลุ่มเข้าไปนั่งตามมุมหรือจุดต่าง ๆของห้องเรียน และช่วยกันหาคํ าตอบสํ าหรับโจทย์ปัญหาต่าง ๆ ที่ครูยกขึ้นมา และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนอธิบายเรื่องราวที่ตนศึกษาให้เพื่อนกลุ่มอื่นฟัง
9) คู่ตรวจสอบ (Pairs Check) แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มละ 4 หรือ 6 คน ให้นักเรียนจับคู่กัน
ทํ างาน คนหนึ่งทํ าหน้าที่เสนอแนะวิธีแก้ปัญหา อีกคนทํ าหน้าที่แก้โจทย์ เสร็จข้อที่ 1 แล้วให้สลับหน้าที่กัน เมื่อเสร็จครบ 2 ข้อ ให้นํ าคํ าตอบมาตรวจสอบกับคํ าตอบของคู่อื่นในกลุ่ม
10) คู่คิด (Think-Pair Share) ครูตั้งคํ าถามให้นักเรียนตอบ นักเรียนแต่ละคนจะต้องคิด
คํ าตอบของตนเอง นํ าคํ าตอบมาอภิปรายกับเพื่อนที่นั่งติดกับตน นํ าคํ าตอบมาเล่าให้เพื่อนทั้งชั้นฟัง
11) ร่วมกันคิด (Numbered Heads Together) เริ่มจากครูถามคํ าถาม เปิดโอกาสให้นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันคิดหาคํ าตอบ จากนั้นครูจึงเรียกให้นักเรียนคนใดคนหนึ่งจากกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือทุก ๆกลุ่มตอบคํ าถาม เป็นวิธีการที่นิยมใช้ในการทบทวนหรือตรวจสอบความเข้าใจ
12) การเรียนแบบร่วมมือกับการสอนคณิตศาสตร์ จอห์นสันและจอห์นสัน (Johmson and Johmson, 1989) กล่าวว่า การเรียนแบบร่วมมือสามารถใช้ได้เป็นอย่างดีในการเรียนคณิตศาสตร์ เพื่อให้นักเรียนคิดทางคณิตศาสตร์เข้าใจการเชื่อมโยงระหว่างมโนมติและกระบวนการ และสามารถที่จะประยุกต์ใช้ความรู้อย่างคล่องแคล่ว
5. บทบาทของครูในการจัดการเรียนรู้
บทบาทของครูผู้สอนที่ใช้กิจกรรมการเรียนแบบร่วมมือจะเปลี่ยนจากการเป็นผู้ควบคุมชั้น
มาเป็นเพียงผู้คอยแนะนําให้นักเรียนใช้ข้อมูล ความรู้ วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ดําเนินการให้บรรลุจุด
มุ่งหมายที่ต้องการ และเป็นผู้จัดบรรยากาศที่เอื้ออํานวยต่อการเรียนรู้ของนักเรียน ซึ่งนักเรียน
เรียนรู้ได้ดีจากบรรยากาศที่เป็นกันเอง ที่ทั้งครูและนักเรียนได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
ความรู้สึกซึ่งกันและกัน โดย
- ให้งานที่ท้าทายความสามารถของนักเรียรนมากกว่าที่จะเป็นงานที่แข่งขันกัน
- ให้นักเรียนได้มีโอกาสเลือกและตัดสินใจในงานที่ทํา
- ยอมรับความคิดและสนใจความรู้สึกของนักเรียน
- เห็นว่าความคิดเห็นของนักเรียนมีความหมายและมีคุณค่า ถึงแม้ว่าจะเป็นความคิดที่จํากัด
- ส่งเสริมให้นักเรียนได้แสดงออกซึ่งความคิดของตนเอง ซึ่งอาจออกมาในรูปแบบต่าง ๆ เช่น วาดภาพ ระบายสี แสดงละคร บทบาทสมมติ เขียนบรรยายและอื่น ๆ
- ยอมรับความผิดพลาดของนักเรียนและหาทางช่วยเหลือ
- เผยแพร่ผลงานของนักเรียน อาจเป็นในรูปจดหมายข่าว หนังสือของห้องหรือหนังสือพิมพ์ของโรงเรียน
- กระตุ้นส่งเสริมทักษะทางด้านความคิดแก่นักเรียน โดยใช้แหล่งข้อมูลต่าง ๆ และสื่อการสอน เช่น หนังสืออ้างอิง วารสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการเรียนแบบร่วมมือ
6. บรรณานุกรม
Johnson , David W. and Johnson, Roger T. “Research Shows the Benefits of Adult
Cooperation,” Educational Leadership. 45 ( 3 ) 27 - 29 ; November , 1987.
______. Learning Together and Alone : Cooperative and Individualistic Learning.
5th ed. Englewood Cliffs , New Jersey: Prentice Hall , 1991.
Slavin , Robert E. “Cooperative Learning and Cooperative School,” Educational
Leadership. November , 1987.
_____. Cooperative Learning Theory, Research , and Practice. New Jersey:
Prentice Hall , 1991.
Strachan , Kevin Winton. Cooperative Learning in A Secondary School Physical
Education Program. February, 1999.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น